จระเข้ นอน เฟอรัส, นอน-ชริ้งค์เกร้าท์

Rate this post

1จระเข้ นอน-เฟอร์รัส, นอน-ชริ้งค์ เกร้าท์
Crocodile Non Ferrous, Non Shrink Grout
ซีเมนต์นอน-ชริ้งค์ เกร้าท์ ให้กำลังแรงอัดสูง

เป็นปูนเกร้าท์ผสมเสร็จที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่หดตัว รับแรงอัดสูงพิเศษ มีส่วนประกอบของซิลิก้า และเคมีผสมเพิ่มอื่นๆ

คุณสมบัติเด่น
• รับแรงอัดสูงพิเศษ เหมาะสำหรับงานเกร้าท์ฐานเพื่อรองรับชิ้นส่วนโครงสร้างต่างๆ เช่น พื้น ผนัง คาน เสา รวมทั้งงานเกร้าที่ฐานเครื่องจักร และงานสาธารณูปโภค
• รับแรงได้เร็วภายใน 4 ชม.
• ใช้งานได้ดี ทั้งในสภาวะที่ไหลคล่อง (Fluid) จนถึงสภาวะพลาสติก (Plastic) โดยไม่แตกร้าวหรือแยกตัว
• สามารถเพิ่มความหนาได้โดยผสมหินเกล็ด

การเตรียมพื้นผิว
1. ทำความสะอาดพื้นผิว ขจัดสิ่งสกปรก ฝุ่น น้ำมัน และเศษคอนกรีตออกจากบริเวณที่จะทำงาน ทำพื้นผิวเป็นรอยหยาบ และใช้น้ำบ่มหน้าผิวคอนกรีตทิ้งไว้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง (แต่เพื่อให้ดีควรทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง)
2. เตรียมแบบสำหรับหล่อคอนกรีตจะต้องแข็งแรงพอและทำการอุดร่องเพื่อป้องกันการรั่วไหลของปูนเกร้าท์ และควรดูดซับน้ำส่วนเกินที่ค้างบนผิวงานก่อนที่จะทำการเทเกร้าท์

การผสม
1. ในการผสมควรใช้น้ำที่สะอาด ผสมตามสัดส่วนที่กำหนด และระมัดระวังในการชั่งตวงปริมาณน้ำที่ผสม
2. เตรียมเครื่องผสม ความเร็วรอบ 500 รอบ/นาที
3. ตวงน้ำใส่ในภาชนะที่จะผสม เปิดเครื่องผสม และค่อยๆเติมปูนเกร้าต์ลงไป
4. ผสมต่อเนื่องกันนานประมาณ 5 นาที จนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน กรณีเติมหินเกร็ด ควรเติมหลังจากปูนเกร้าต์และน้ำผสมเข้ากันดีแล้ว
5. หลังจากผสมเสร็จแล้วห้ามเติมน้ำ
หมายเหตุ: ควรผสมปูนเกร้าท์ ในปริมาณที่จะใช้ได้หมดภายใน 15 นาที และไม่ควรนำส่วนผสมมาเติมน้ำเพื่อนำกลับมาใช้อีก

ความข้นเหลวในการผสม
ปริมารน้ำที่ใช้ตามที่แนะนำนี้ ให้ไว้เพื่อเป็นแนวทาง ความข้นเหลวของผลิตภัณฑ์จะขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละงาน ควรใช้น้ำจำนวนแต่น้อยในการผสมในครั้งแรก แล้วเติมน้ำเพิ่มจนได้ความข้นเหลวที่พอเหมาะหรือตามต้องการ อุณหภูมิและวิธีการผสมเป็นปัจจัยต่อความต้องการน้ำ เพื่อความข้นเหลวที่เหมาะสมกับงาน

การใช้งาน
1. เข้าแบบรอบฐานเท แบบต้องไม่รั่ว และยึดค้ำยันให้แน่น
2. บ่มผิวคอนกรีตและแบบให้ชุ่มน้ำๆ พอหมาดๆ
3. เทจากด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโพรงอากาศ และควรเทต่อเนื่องกันจนเต็ม
4. อาจจะต้องใช้การกระทุ้ง เพื่อให้วัสดุเติมเต็มช่องว่างได้ แต่ไม่ควรใช้เครื่องจี้เพราะจะทำให้วัสดุแยกชั้น
5. ควรทำการเทเป็นชั้น โดยแต่ละชั้นทิ้งช่วงห่างกันประมาณ 16-24 ชั่วโมง

การบ่ม
หลังจากเทเสร็จเรียบร้อยแล้ว รักษาสภาพพื้นผิวให้เปียกชื้น ควรทำการบ่มปูนเกร้าท์ด้วยน้ำอย่างน้อย 3 วัน ป้องกันไม่ให้ผิวงานสั่นสะเทือน ถูกความร้อน หรือความเย็นที่รุนแรง เป็นเวลา 3 วัน

ข้อควรระวัง
ผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และสารผสมเพิ่มอื่นๆ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยต่างๆ เช่น ถุงมือ, หน้ากากกันฝุ่น, แว่นตา ฯลฯ ในกรณีเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้งทันที และรีบปรึกษาแพทย์ ถ้าถูกหรือสัมผัสกับผิวหน้าให้ใช้น้ำและสบู่ล้างทำความสะอาด ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก

ศาสตราจารย์ คณาเดช 35 ปีที่โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ

อายุรแพทย์โรคหัวใจ อายุรแพทย์ (แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว) นักบำบัดโรค แพทย์ประจำคลินิก มีวิธีการที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและรักษาโรคที่หลากหลายในเด็กและผู้ใหญ่ เขาเป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาความพิการชั่วคราว คุณภาพของการรักษาพยาบาล เขามีความรู้ทางด้านโรคหัวใจและทางเดินอาหาร เขารู้ดีถึงปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ใช้วิธีตรวจสอบ Holter และตรวจวัดความดันโลหิตทุกวัน
ทักษะผู้เชี่ยวชาญ:

ความดันโลหิตสูงในทุกรูปแบบ รวมถึงความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดงทุติยภูมิ
โรคหลอดเลือดหัวใจ
การรบกวนจังหวะการเต้นของหัวใจ
โรคหัวใจอุดกั้นเรื้อรัง
การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่างแบบเฉียบพลัน
โรคหอบหืด
โรคกระเพาะเรื้อรังและแผลในกระเพาะอาหาร
ไตวายเรื้อรัง
ความผิดปกติของลำไส้ทำงาน
โรคกระดูกพรุน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *